จริงๆแล้ว ไม่ได้ส่งเสริมให้เป็นหนี้กันเลยนะคะ มีเท่าไรใช้ให้น้อยกว่าที่มีแล้วชีวีจะมีสุขตราบนานเท่านาน แต่ก็นั่นล่ะค่ะ ความจำเป็นของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน บางทีก็ต้องมีหยิบยืมกันบ้าง เอาไปคืนเค้าทันก็ดีไป แต่ถ้าเอาไปคืนเค้าไม่ทันก็ดอกเบี้ยบานนะคะ
กรณีที่เราบริหารหนี้จนเกิดการผิดพลาดไปแล้ว เราจะทำอะไรกันได้บ้าง หรือจะปล่อยเลยตามเลย ปิดตาไปข้าง ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย หรือปล่อยให้ดอกเบี้ยพอกพูนไปเรื่อยๆดี ยิ่งคิดก็ยิ่งปวดหัว เอาเป็นว่าวันนี้เราเลยมีอีกหนึ่งทางเลือกมานำเสนอค่ะ นั้นก็คือ
การรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคล
การรีไฟแนนซ์ ว่าง่ายๆก็คือ "การเปลี่ยนเจ้าหนี้" กู้เงินก้อนใหม่เพื่อมาโปะก้อนเดิม ดังนั้นการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลก็เหมือนเป็นการทำเรื่องกู้เงินก้อนใหม่มาเพื่อไปใช้หนี้ที่เรามีอยู่
อ่านแล้วอาจจะงงๆนะคะ เป็นหนี้อยู่แล้วจะให้ไปกู้อะไรอีก
อธิบายง่ายๆก็ประมาณว่า ถ้าเรามีเจ้าหนี้หลายเจ้าเหลือเกินอยากรวมเป็นยอดเดียวแล้วจ่ายกับเจ้าเดียวไปเลยจะดีกว่าหรือเปล่า หรือถ้าเราแบบว่าหนี้สินล้นพ้นดอกเบี้ยเกินเยียวยาจนทุกวันนี้รู้สึกว่าที่จ่ายๆไปไม่ได้ไปสะกิดเงินต้นเลย อยากจะขอโอกาสตั้งตัวใหม่ การรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคลก็เหมือนกับว่าเราไปกู้เค้ามาใหม่ก้อนนึงเพื่อโปะทุกสิ่งอย่างหนี้ทั้งหมดที่เรามี แล้วเริ่มต้นผ่อนกันใหม่กับเจ้าเดียวนั่นเอง โดยเค้าจะกำหนดให้เราจ่ายคืนเป็นงวดๆ จำนวนแน่นอนที่คิดรวมค่าดอกเบี้ยและธรรมเนียมไว้แล้ว ที่สำคัญมีระยะเวลาให้เลือกผ่อนจ่ายได้นานกว่าการไปใช้บัตรกดเงินสด
ไหนๆก็นำเสนอทางเลือกให้แล้ว เราก็มีทิปเล็กๆน้อยๆ การรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลมาฝากด้วย
1. ควรเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคาร, สถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ เพราะอย่างน้อยก็ยังมีรัฐคอยควบคุมไม่ให้เราโดนเอาเปรียบเกินไป มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บไว้ชัดเจนดีกว่าไปใช้บริการสินเชื่อนอกระบบ (กู้นอกระบบ) ที่ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆจะแพงกว่าปกติ อาจนำไปสู่โอกาสพลาดจ่ายต้นและดอกไม่ทันได้ง่าย แทนที่จะช่วยปลดหนี้อาจจะเจอวังวนหนักกว่าเดิม แถมมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตด้วย จากข่าวที่มีให้เราเห็นกันเป็นระยะๆ
2. พิจารณาเปรียบเทียบแต่ละเจ้า แล้วเลือกที่ดีที่สุด เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำหรือเปล่า คิดแบบลดต้นลดดอกหรือเปล่า ค่าธรรมเนียม ค่าดำเนินการต่างๆ แพงเกินไปมั้ย ระยะเวลาที่ให้ผ่อนชำระหนี้ยาวนานมากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือเปล่า เป็นต้น
3. ลองประเมินตัวเองดูว่าเราสามารถผ่อนชำระตามค่างวดที่เค้ากำหนดได้หรือไม่ ถ้าจำนวนเงินต่องวดสูงเกินไป อาจต้องเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระให้ยาวนานขึ้น
4. อ่านข้อกำหนด เงื่อนไข รวมถึงหมายเหตุต่างๆให้ละเอียด ดอกเบี้ยที่ระบุเป็นต่อเดือนหรือต่อปี แล้วยังมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องจ่ายเพิ่มนอกเหนือจากนี้อีกหรือเปล่า เช่น ถ้าเราผิดนัดชำระจะโดนค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายกรณีมีการติดตามทวงหนี้ ค่าบริการกรณีเราไปจ่ายที่ธนาคาร ต่างธนาคาร หรือที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส เงื่อนไขเล็กๆน้อยๆบางอย่าง เค้ามักจะทำเป็นดอกจันหรือเขียนตัวเล็กๆไว้ อย่าลืมสังเกตกันด้วยนะคะ
5. สุดท้ายตั้งใจว่าจะปลดหนี้ให้แน่วแน่ มีวินัยในการจ่าย ไหนๆ ก็จะตั้งใจปลดหนี้กันแล้ว อย่าให้พลาดกันอีกรอบนะคะ
สอบถาม พูดคุย หรือ ติดตามข่าวสารได้ที่